ป้องกันที่ดินรกร้างไม่ให้โดนแย่งกรรมสิทธิ์

ที่ดินรกร้าง, ที่ดินรกร้างว่างเปล่า คือ

ทิ้งที่ดินรกร้างอาจเสียกรรมสิทธิ์ได้ รู้เอาไว้ก่อนที่จะเสียที่ดิน เพื่อนแท้เงินด่วนของเสนอแนวทางที่จะได้ป้องกันทันโดยหากคุณไม่ทำประโยชน์แก่ที่ดินของคุณเลยปล่อยให้รกร้าง อาจจะเสียที่ดินให้รัฐไปแบบงงๆ ได้นะครับ

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า คือ

ที่ดินรกร้างว่างเปล่า คือ การปล่อยให้ที่ดินว่างเปล่าโดยไม่ทำอะไรเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นเลย ซื้อทิ้งไว้เฉย ๆ เพราะไม่มีกฎหมายกำหนดสิทธิในการถือครองที่ดิน ทำให้นายทุนหรือนักอสังหากว้านซื้อที่ดินไว้เก็งกำไร และเนื่องด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ทำให้ที่ดินรอการขายทิ้งร้างเป็นจำนวนมากสำหรับการสำรวจที่ดินที่ถูกทอดทิ้งปล่อยให้รกร้าง มีจำนวนมาก และไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์แต่อย่างใด

ที่ดิน คือ​

ที่ดินเป็นปัจจัยสี่ที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเรา ตั้งแต่เกิดจนตายก็ต้องอาศัยที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ เป็นแหล่งสร้างผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมในด้านเศรษฐกิจ โฉนดที่ดินรกร้างเป็นทรัพย์สินทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่ามาก มีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพได้ด้วยครับ

ผลเสียของที่ดินรกร้าง​

  1. ปัญหาทางเศรษฐกิจ เพราะรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศไทย มาจากผลผลิตทางการเกษตร หากทอดทิ้ง ทำให้ที่ดินรกร้างไม่ทำประโยชน์ก็จะทำให้ไม่มีผลผลิตทางเกษตรในพื้นที่แปลงนั้น หรือผลผลิตลดลงทำให้ไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค และจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
  2. ปัญหาทางด้านสังคมและการเมือง สาเหตุเกิดมาจากกลุ่มนายทุน หรือคนที่ซื้อที่ไว้เก็งกำไร กว้านซื้อที่ดินไว้แล้วไม่ทำประโยชน์ทิ้งที่ให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งมีผลกระทบต่อประชากรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ทำให้พวกเขาเหล่านั้นเข้าไปบุกรุกทำประโยชน์ในที่ดินที่เจ้าของทอดทิ้งแปลงนั้น ทำให้เกิดปัญหาแย่งที่ดินทำกิน ส่งผลให้เกิดความไม่สงบสุขภายในสังคม

ผลดีของการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินรกร้าง​

  1. เป็นการเพิ่มผลผลิตทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการสร้างงานและส่งผลให้รายได้เพิ่มขึ้นและลดค่าใช้จ่ายของครอบครัว และท้องถิ่น
  2. ก่อให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจของท้องถิ่น
  3. ป้องกันปัญหาการบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในที่ดินรกร้างของผู้อื่น
  4. เมื่อประชาชนมีรายได้พอเพียง ก็จะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจสังคม และการเมืองของประเทศโดยรวม

วิธีการแก้ปัญหาการทอดทิ้งที่ดินรกร้าง

มาตรการในการแก้ปัญหาที่ดินรกร้างสามารถแบ่งได้ 2 แนวทาง คือ

มาตรการระยะสั้น​

  • ทำการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนทราบถึงผลดีและผลเสียใช้การใช้ประโยชน์ในที่ดินรกร้างที่ไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน
  • ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้ได้ที่ดินมาเป็นของเรา จะต้องให้เจ้าหน้าที่บันทึกคำพูดผู้รับโอนด้วยแล้วแต่กรณี
  • ที่ดินรกร้าง หากมีการทอดทิ้งปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์เกิน 10 ปีอาจจะถูกศาลสั่งเพิกถอนให้ตกเป็นทรัพย์สินของรัฐได้ หรือที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ฉบับนี้ หากทอดทิ้งให้รกร้างและสำหรับที่ดินที่มี น.ส.3 ไม่ทำประโยชน์เกิน 5 ปีติดต่อกัน อาจจะถูกศาลสั่งเพิกถอนให้ตกเป็นของรัฐได้เช่นกัน
  • การทอดทิ้งที่ดินรกร้างเกินกำหนดเวลาข้างบนนี้ กฎหมายโดยถือว่าผู้นั้นเจตนาสละสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ได้ทอดทิ้ง ซึ่งอธิบดีจะยื่นร้องต่อศาลเพิกเพิกถอนกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทันที

มาตรการระยะยาว​

  • เจ้าของที่ดินรายใดได้ทำประโยชน์ในที่ดินของตนแล้วจะเสียภาษีให้รัฐน้อยกว่าเจ้าของที่ดินซึ่งปล่อยให้ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ซึ่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้แก้ปัญหาการทอดทิ้งหรือไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน
  • ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากควบคุมโดยมาตรการทางภาษี ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ต้องการเร่งรัดให้เจ้าของที่ดินรกร้างทำประโยชน์ในที่ดิน และเพื่อป้องกันไม่ให้มีการกว้านซื้อที่ดินไว้โดยไม่ทำประโยชน์ใด ๆ
  • ขอข้อมูลการตรวจสอบการทำประโยชน์ในที่ดินรกร้างจากองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ตรวจสอบการทำประโยชน์ในที่ดินของประชาชนเพื่อจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ประจำทุกปี

ภาษีที่ดินรกร้าง

สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้ร่างพรบ.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า โดยการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่ โดยเป้าหมายก็คือกระจายการถือครองที่ดินให้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทำให้ต้องจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีเพดานภาษีได้ไม่เกิน 1.2%

ในแต่ละพื้นที่จะมีการเรียกเก็บไม่เท่ากัน แต่จะไม่เกินเพดานภาษี 1.2%  และ 2 ปีแรกในการจัดเก็บภาษีที่ดินที่ถูกทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพ ให้ใช้อัตราภาษีตามมูลค่าของฐานภาษีต่อไปนี้ครับ

อัตราการจัดเก็บภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่า (ในช่วง 2 ปีแรก 2563-2565)

  • หากราคาที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท อัตราจัดเก็บภาษีจะอยู่ที่ 0.3%
  • ราคาที่ดินนตั้งแต่ 50 ล้าน แต่ไม่เกิน 200 ล้าน อัตราจัดเก็บภาษีจะอยู่ที่ 0.4%
  • ราคาที่ดินตั้งแต่ 200 ล้าน แต่ไม่เกิน 1,000 ล้าน อัตราจัดเก็บภาษีจะอยู่ที่ 0.5%
  • ราคาที่ดินตั้งแต่ 1,000 ล้าน แต่ไม่เกิน 5,000 ล้าน อัตราจัดเก็บภาษีจะอยู่ที่ 0.6%
  • ตั้งแต่ 5,000 ล้านขึ้นไป อัตราจัดเก็บภาษีจะอยู่ที่ 0.7%

สรุป - ที่ดินรกร้างว่างเปล่า ทำอะไรดี

หากคุณมีพื้นที่รกร้างว่างเปล่า แนะนำว่าให้ทำประโยชน์ต่อที่ดินแปลงนั้นตามสมควรตามสภาพ เพื่อป้องกันปัญหาของการบุกรุกและปัญหารายจ่ายของภาษีในแต่ละปี เพราะที่ดินเปล่าจะต้องเสียภาษีแพงกว่าที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์ต่อเนื่องอยู่

ที่ดินรกร้างทำอะไรดี หากเผลอปล่อยทิ้งไว้หลายอาจจะถูกศาลสั่งเพิกถอนให้ตกเป็นทรัพย์สินของรัฐได้ด้วย อย่าให้ที่ดินรกร้างของเราดูไร้มูลค่าและเสียมากกว่าคนอื่นนะครับ มีที่ดินไม่ได้ใช้ประโยชน์ นำมาขอสินเชื่อที่ดินเพียงนำโฉนดที่ดินมาเปลี่ยนเป็นเงินสดกันได้ที่ เพื่อนแท้เงินด่วน อนุมัติเงินแสนให้คุณแบบง่าย ๆ ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.60% ต่อเดือนเท่านั้น รู้ผลภายใน 20 นาที ทักมาได้เลย 

เพื่อนแท้ เงินด่วน

บทความยอดนิยม