ลงทะเบียนว่างงาน อัพเดต 2565 เงื่อนไขใหม่ที่ต้องทำความเข้าใจ

เนื้อหานี้เป็นเนื้อหาสอนการ ลงทะเบียนว่างงาน และรายงานตัวเพื่อรับสิทธิต่างๆจากทางประกันสังคม เพื่อให้คุณได้รับสิทธิที่พึงได้ และ เข้าใจการทำงานและระบบราชการ ตามวันเวลาต่างๆที่จะได้เงิน และเงื่อนไขต่างๆ พร้อมทั้งสอนการใช้งานเว็บประกันสังคม มีไว้จบที่เดียว ง่ายๆ มาดูกันเลย

ใครที่มีสิทธิ ลงทะเบียนว่างงาน

  • เป็นผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงาน และ ว่างงานสุดวิสัย
  • ได้จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันที่ว่างงาน

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นลงทะเบียนว่างงาน สำหรับ 2 ช่องทาง

ช่องทางที่ 1.แบบออนไลน์

สำหรับการลงทะเบียนออนไลน์ จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 6 นาทีหากเตรียมเอกสาร เพียงภาพถ่ายสมุดบัญชีธนาคารที่เป็นชื่อผู้ประกันตน และตอนไปสนง.ประกันสังคมเพื่อยื่นเอกสารที่ ต้อง Print แบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน (แบบสปส 2-01/7)

 

ช่องทางที่ 2.แบบไปยื่นที่ สนง.ประกันสังคม

ถือว่าเป็นแบบที่มีขั้นตอนเยอะพอสมควรต้องเตรียมเอกสารดังนี้

  • แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7) ที่กรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
  • รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปถ่ายต้องมีอายุไม่เกิน 6 เดือน)
  • หนังสือรองรับการออกจากงาน สำเนาการแจ้งการลาออก หรือ สปส. 6-09 (กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็ยังคงสามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้)
  • เอกสารแจ้งให้ออกจากงาน จากนายจ้าง (หากมี)
  • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ของธนาคาร โดยต้องเป็นชื่อเดียวกัน

สิทธิ์ที่ได้เมื่อตกงาน

ผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนวันว่างงาน

กรณีถูกเลิกจ้าง

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน

กรณีลาออกเอง หรือ หมดสัญญาจ้างงาน

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ 30 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วัน

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน รวมกันไม่เกิน 180 วัน***

***หากใน 1 ปีปฏิทิน มีการยื่นขอรับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน กรณีที่ 2 เกิน 1 ครั้ง ให้นับระยะเวลาการรับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน รวมกันไม่เกิน 90 วัน***

หมายเหตุ : ผู้ประกันตนต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานและรายงานตัว ทางระบบอินเตอร์เน็ต (เว็บไซต์ https://e-service.doe.go.th ) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ถูกเลิกจ้างหรือลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างฯ เพื่อมิให้เสียสิทธิในการรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน

กรณีไม่ได้ทำงานจากเหตุสุดวิสัย

ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ในระหว่างการว่างงาน ร้อยละ50 ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 180 วัน
“เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย หรือธรณีพิบัติตลอดจนภัยอื่นๆอันเกิดจากธรรมชาติซึ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน และทำให้ผู้ประกันตนไม่สามารถทำงานได้ หรือนายจ้างไม่สามารถประกอบกิจการได้ตามปกติ

ขั้นตอน ลงทะเบียนว่างงาน

สำหรับผู้ที่จะลงทะเบียนว่างงานใหม่ หลังจากวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ต้องลงทะเบียนผ่านระบบ https://e-service.doe.go.th กับกรมการจัดหางาน หรือ ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น “ไทยมีงานทำ” เพื่อสมัครและเข้าใช้งานได้ ในบทความนี้จะทำการสอนผ่านระบบ E-Service และมีภาพรวมการใช้งานดังนี้

    1. สมัคร Digital ID (ใครมีแล้วข้ามไปข้อ 2)
    2. เข้าสู่ระบบ E-Service. กรมการจัดหางาน
    3. ขึ้นทะเบียนกรณีว่างงาน
      1. ขึ้นทะเบียนกรณีว่างงาน
      2. อัพโหลดภาพถ่ายหน้าสมุดธนาคาร
    4. รายงานตัว
      1. รายงานตัว
      2. พิมพ์ใบนัดหมาย

ทำตามขั้นตอนให้ครบ หลังจากนั้นไปยืนยันตัว โดยต้องดาวน์โหลดใบ สปส.2-01/7 และสำเนาสมุดธนาคารที่มีชื่อตรงกับชื่อที่ลงทะเบียน ไปยื่นที่สนง.ประกันสังคมใกล้บ้านท่าน โดยต้องเตรียมเอกสารสำหรับลงทะเบียนว่างงาน

1.สมัคร Digital ID (ใครมีแล้วข้ามไปข้อ 2)

สำหรับผู้ใช้ใหม่ ต้องทำการลงทะเบียนขอใช้บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล / Digital ID ของทางภาครัฐที่เป็น Username Password ในการใช้บริการระบบออนไลน์จากทางภาครัฐ

ให้เปิด Web Browser และกรอก https://e-service.doe.go.th ในช่อง URL แล้วทำตามหมายเลขลำดับดังรูปภาพ

ลงทะเบียนว่างงาน

เมื่อกดแล้วจะพบหน้าต่างนี้ ให้กดปุ่ม 4

หากใครมี Thailand Digital ID แล้วให้กดเข้าสู่ระบบ แล้วข้ามไปหัวข้อที่ 2 ได้เลยหากยังไม่มีต้องกดสมัครใหม่ โดยเลือกกดปุ่มในกรอบที่ 5

หมายเหตุ ระบบจะอยู่บนเว็บไซต์ https://accounts.egov.go.th/ หลังจากสมัครเสร็จแล้ว ระบบ E-Service จากทางกรมการจัดหางานจะปรากฏอัตโนมัติ ดังรูปก่อนหน้านี้

ให้กดยอมรับข้อตกลงการใช้งาน

ทำตามกรอบรูปสีแดงตามลำดับ

ใส่รายละเอียดบัตรประชาชน เพื่อลงทะเบียนว่างงาน มาถึงขั้นตอนที่ 10 เพื่อยืนยันตัว

ใส่รายละเอียดให้ครับ แล้วกดถัดไป

จำเป็นต้องมีโทรศัพท์มือถือเพื่อยืนยันตัว หากท่านไม่มีท่านต้องไปสมัครที่สนง.ประกันสังคมใกล้บ้านท่าน

เมื่อได้รับ SMS ให้กรอกรหัส OTP แล้วกดถัดไป

ยืนยันข้อมูล

2.เข้าสู่ระบบ E-Service

1. เปิด Web Browser แล้วกรอก “https://e-service.doe.go.th” ในช่อง URL

2. คลิกที่ปุ่ม “เข้าสู่ระบบ”

3. คลิกที่ปุ่ม “บุคคลธรรมดา”

4. คลิกที่ปุ่ม “เข้าสู่ระบบ/ลงทะเบียน”

5.กรอกชื่อบัญชีผู้ใช้งาน และ รหัสผ่าน

6.คลิกที่ปุ่ม “เข้าสู่ระบบ”

7.คลิกที่ระบบ “ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน”

8.กรณีไม่ได้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สนง.ของกรมการจัดหางาน ให้คลิกที่ปุ่ม “ดำเนินการต่อ” แต่หากใช้เครื่องคอมพิวเตอรที่สนง.ของกรมการจัดหางาน ให้ระบุชื่อสนง.ฯ แล้วคลิกที่ปุ่ม “เลือกสนง.” เพื่อ ลงทะเบียนว่างงาน

3.ขึ้นทะเบียนกรณีว่างงาน

3.1ขึ้นทะเบียนกรณีว่างงาน

1. คลิกที่เมนู “ขึ้นทะเบียนว่างงาน”

2. คลิกที่ปุ่ม “ขึ้นทะเบียนว่างงาน”

3.กรอกข้อมูลในส่วนที่ 1 “ขึ้นทะเบียนว่างงาน” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป”

4.กรอกข้อมูลในส่วนที่ 2 “สมัครงาน” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป”

อธิบายหน้าจอเพิ่มเติม

หากต้องการสมัครงานให้คลิกที่ปุ่ม “สมัครงานนี้” ในตำแหน่งงานที่สนใจ แต่หากไม่ต้องการสมัครงานให้คลิกที่

ช่อง “ไม่ประสงค์จะสมัครงาน” ต้องเลือกสมัครงานหรือไม่สมัครงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หากไม่เลือก ระบบจะไม่

ยอมให้กรอกข้อมูลในหน้าจอถัดไป

5.กรอกข้อมูลในส่วนที่ 3 “อาชีพอิสระ” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม “บันทึก”

อธิบายหน้าจอเพิ่มเติม

• กรณีไม่ประสงค์จะสมัครงาน ต้องทำการระบุข้อมูลการประกอบอาชีพอิสระ อย่างน้อย 1 อาชีพ

6.คลิกที่ปุ่ม “ตกลง”

7.คลิกที่ปุ่ม “OK”

3.2 แนบไฟล์บัญชีธนาคาร

1.คลิกที่เมนู “ขึ้นทะเบียนว่างงาน”

2.คลิกที่ปุ่ม “แนบไฟล์หน้าสมุดบัญชีธนาคาร”

3.กรอกข้อมูลและแนบไฟล์หน้าสมุดบัญชีธนาคารให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม “บันทึก”

4.รายงานตัว

4.1รายงานตัว

1.คลิกที่เมนู “รายงานตัว”

2.คลิกที่ปุ่ม “รายงานตัว”

3.กรอกข้อมูลในส่วนที่ 1 “รายงานตัว” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป”

4.กรอกข้อมูลในส่วนที่ 2 “สมัครงาน” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม “ถัดไป”

5.กรอกข้อมูลในส่วนที่ 3 “อาชีพอิสระ” ให้ถูกต้องครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม “บันทึก”

6.คลิกที่ปุ่ม “ตกลง

7.คลิกที่ปุ่ม “OK”

4.2พิมพ์ใบนัดหมายรายงานตัว

1.คลิกที่เมนู “รายงานตัว”

2.คลิกที่ปุ่ม “พิมพ์ใบนัดหมายรายงานตัว”

5.เมนูข้อมูลขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเพื่อ ลงทะเบียนว่างงาน

1.คลิกที่เมนู “ข้อมูลขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน”

2.แสดงข้อมูลการพิจารณาจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน

แหล่งหางาน

  • แหล่งงานในประเทศ

    ภาครัฐได้รวบรวมแหล่งงานที่มาจากภาครัฐเองโดยสามารถหาได้ที่เว็บ ไทยมีงานทำ https://thaimengaantam.doe.go.th/ โดยสามารถค้นหางานจากรัฐวิสาหกิจ และ เอกชน รวมไปถึงการ Re-Skill ที่รวบรวมคอรส์ต่างๆ ไว้สอนฟรีๆ สำหรับสมาชิกอีกด้วย

  • แหล่งงานต่างประเทศ

    การหางานต่างประเทศ มีทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ รัฐฯจัดส่ง และ บริษัทเอกชน จัดส่ง โดยสามารถดูตำแหน่งงานทั้งหมดได้ที่นี้ https://www.doe.go.th/prd/overseas/news/param/site/149/cat/8/sub/0/pull/category/view/table-list และ https://toea.doe.go.th/LBANK-WEB/main.php

แหล่งเงินสด ยามตกงาน

สำหรับโครงการช่วยเหลือต่างๆจากทางภาครัฐไม่ว่าจะคนละครึ่ง หรือ เงินประกันมาตรา 33 เป็นการช่วยเหลือจากทางภาครัฐ ที่มีระยะเวลาจำกัด และ วงเงินที่จำกัด จะดีกว่าไหม ถ้าเราได้แหล่งเงินสด ที่ถูกกฏหมาย สามารถช่วยเหลือได้ตลอดจนกว่าระยะเวลา 2 ปี โดยเป็นเงินสดให้คุณสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในการสร้างรายได้ ทำธุรกิจส่วนตัวเล็กๆ เปิดร้านขายน้ำ ขายข้าว หรือ ซื้อออุปกรณ์มาทำงานฝีมือที่ตัวเองถนัดมาสร้างรายได้ต่อยอดจากประสบการณ์ของคุณ การกู้เงินไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว หากอยู่ในระบบอยู่แล้วก็ รัฐจะคุ้มครองให้เราปลอดภัย ไม่เหมือนสมัยก่อน

วันนี้เราเห็นความจำเป็นที่ต้องเขามาดูแลช่องว่างที่ภาครัฐอาจช่วยไม่ได้ทั้งหมด การทำธุรกิจของเราคือปล่อยสินเชื่อ และเราก็มุ่งมั่นในธุรกิจของเราว่าจะดำเนินการอย่างใสสะอาด เหมือนชื่อ บริษัท เพื่อนแท้ เงินด่วน ตัดสินใจเลย ปรึกษาเราสิ เรื่องแบบนี้ต้องมีทางออกนอกจาก ลงทะเบียนว่างงาน

สรุปการ ลงทะเบียนว่างงาน

การลงทะเบียนว่างงาน คือ การยืนขอสิทธิให้รัฐจ่ายเงินชดเชยตามกรณี โดยคุณต้องรีบงานต่อภายใน 90-180 วันตามเงื่อนไขด้านบน เราเองเป็นกำลังใจให้คุณในการหาทางออกสำหรับปัญหาการตกงาน

คำถามที่พบบ่อย

คำถาม : หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานผ่านอินเตอร์เน็ต ต้องพิมพ์ไปยื่นที่ สนง.ประกันสังคมหรือไม่ ?

คำตอบ : ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ แต่ต้องพิมพ์ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน(สปส.2-01/7) และ เอกสารประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม

คำถาม : ผู้ประกันตนต้องยื่นเอกสารให้สนง.ประกันสังคมจังหวัดไหน ?

คำตอบ : ได้ทุกจังหวัดที่ใกล้ เมื่อไปยื่นแล้วอาจมีการร้องขอเอกสารประกออบการพิจารณาเพิ่มเติม โปรดเตรียมให้พร้อม

คำถาม : จะขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานได้ไหม หากรู้ว่ากำลังจะตกงาน

คำตอบ : ได้ แต่ไม่เกิน 30 วันก่อนออกจากงาน นับรวมวันหยุด

คำถาม : ไม่มาขึ้นทะเบียนภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันว่างงานจะเกิดอะไรขึ้น

คำตอบ : จะได้รับประโยชน์ทดแทนลดลง โดยจะได้รับสิทธิ์ที่เหลือนับตั้งแต่วันที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น และจะต้องรายงานตัวตามเงื่อนไขให้ครบถ้วน

คำถาม : คนต่างด้าวมีสิทธิ์ไหม

คำตอบ : ไม่มีสิทธิ์

คำถาม : ใบนัดรายงานตัว และหนังสือแนะนำตำแหน่งงานต้องพิมพ์ออกจากระบบหรือไม่ ?

คำตอบ : ไม่ต้อง

คำถาม : ทำไมผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนแล้วยังต้องมาที่สนง.ประกันสังคมอีก ?

คำตอบ : การขึ้นทะเบียน เป็นเพียงส่วนหนึ่งของขั้นตอนของการใช้สิทธิ์ของผู้ประกันตน โดยต้องไปยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานด้วย (แบบสปส 2-01/7) อีกครั้ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และ การยืนยันตัวตน เป็นไปตามเอกสารหรือไม่

คำถาม : ผู้ประกันตนมารายงานตัวทางระบบ แล้วต้องไปที่สนง.ประกันสังคมอีกหรือไม่ ?

คำตอบ : อาจไม่ต้องไป หากระบบไม่ร้องขอเอกสารเพิ่มเติม

คำถาม : ผู้ประกันตนจำเป็นต้องเดินทางมาที่สนง.จัดหางานหรือไม่ ?

คำตอบ : สำหรับการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงานและรายงานตัว ไม่จำเป็นต้องมา หากไม่มีการขอเอกสารเพิ่มเติม

คำถาม : วันนัดรายงานตัว แต่ละครั้งห่างกันกี่วัน

คำตอบ : 30 วัน และ สามารถรายงานตัวผ่านระบบออนไลน์ได้

อ้างอิงจาก คู่มือประกันตน, คู่มือใช้งานระบบ และ คำถามที่พบบ่อย

เพื่อนแท้ เงินด่วน

บทความยอดนิยม