การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

ผู้จัดการมรดกคืออะไร มีหน้าที่ทำอะไร มีสิทธิ์อะไรบ้าง วันนี้เราจะพามาเจาะลึกทุกขั้นตอน ตั้งแต่วิธีการเลือกผู้จัดการหรือค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมถึงเอกสารที่ต้องใช้มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะพาไปดูรายละเอียดกัน ทุกๆขั้นตอนเลย

ผู้จัดการมรดก

ผู้จัดการมรดก คือ

ผู้จัดการมรดก คือ ผู้ที่ศาลมีคำสั่งหรือแต่งตั้งให้ทำหน้าที่รวบรวมหลักฐานของทรัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน รถยนต์ และแบ่งปันทรัพย์สินของผู้ตายให้กับทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดก โดยผู้ที่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อแต่งตั้งผู้จัดการมรดกได้นั้นจะต้องเป็นอัยการ หรือทายาท หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้น

ใครเป็นผู้จัดการมรดกได้บ้าง?​

  1. ชื่อของบุคคลซึ่งผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้จัดการมรดก
  2. ชื่อของบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก

คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก​

  1. บรรลุนิติภาวะ อายุตั้งแต่ 20 ปีบริบูรณ์
  2. ไม่เป็นคนวิกลจริต
  3. ไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
  4. ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก​

  1. ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิได้รับมรดกจริงๆ หรือผู้รับพินัยกรรม
  2. ผู้มีส่วนได้เสีย เช่น เจ้าของร่วมในทรัพย์สินของเจ้ามรดก หรือสามีภริยาซึ่งไม่ได้จดทะเบียนสมรส และมีทรัพย์สินร่วมกัน เป็นต้น
  3. พนักงานอัยการ

ใครไม่มีสิทธิ์เป็นผู้จัดการมรดกบ้าง?​

  1. เป็นบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
  2. เป็นบุคคลวิกลจริต
  3. เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
  4. เป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ
  5. เป็นบุคคลล้มละลาย

หน้าที่ผู้จัดการมรดก​

  • หน้าที่ของผู้จัดการมรดก คือ รวบรวมข้อมูลหลักฐานรวมถึงทำบัญชีต่างๆ เพื่อแบ่งให้ผู้รับพินัยกรรม และ ทายาทโดยธรรมรวมถึงชำระหนี้สินของเจ้ามรดกให้กับเจ้าหนี้ โดยผู้จัดการมรดกจะต้องจัดการให้เป็นประโยชน์มากที่สุดและไม่ทำผลประโยชน์จากกองมรดกให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเอง
  • หากผู้จัดการมรดกไม่ทำตามหน้าที่หรือเพิกเฉยต่อการปฏิบัติหน้าที่ ทายาทผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถร้องขอต่อศาลให้ศาลมีคำสั่งถอดถอนผู้จัดการมรดกได้

ทายาทของเจ้ามรดกมีใครบ้าง

บุคคลที่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายนั้นจะต้องเป็นทายาท ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผู้รับพินัยกรรม และ ทายาทโดยธรรม

ผู้รับพินัยกรรม​

ผู้รับพินัยกรรม คือ เป็นบุคคลที่ผู้ตายได้ระบุไว้ในพินัยกรรมอย่างชัดเจนว่าให้รับมรดก ซึ่งบุคคลที่ได้รับพินัยกรรมนั้นสามารถเป็นได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

ทายาทโดยชอบธรรม​

  • ทายาทโดยชอบธรรม คือ เป็นบุคคลที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย ซึ่งถ้าหากไม่ได้ทำพินัยกรรมหรือพินัยกรรมเป็นโมฆะ จะมีทายาทโดยธรรมทั้งหมด 6 กรณี ได้แก่
  1. ผู้สืบสันดาน (บุตรทางสายเลือดหรือบุตรบุญธรรม)
  2. บิดามารดา
  3. พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
  4. พี่น้องร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

วิธีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เมื่อบุพการีหรือผู้ครอบครองสินทรัพย์นั้นๆ เสียชีวิตลง และต้องมีการแบ่งมรดกที่ได้มาอย่างเท่าเทียมแก่ผู้ที่มีสิทธิในกองมรดกนั้นๆ แล้วขั้นตอนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก มีดังนี้

1. ตรวจสอบพินัยกรรม

ขั้นตอนแรกคือการตรวจสอบว่าผู้ตายได้ทิ้งพินัยกรรมโดยระบุผู้ดำเนินการสำหรับอสังหาริมทรัพย์ของตนหรือไม่ บ่อยครั้งที่บุคคลที่สร้างพินัยกรรม (ผู้ทำพินัยกรรม) ตั้งชื่อบุคคลที่เชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ดำเนินการเพื่อจัดการทรัพย์สินของตนหลังจากเสียชีวิต

2. แสวงหาฉันทามติในหมู่ทายาท

หากพินัยกรรมไม่ได้ระบุชื่อผู้ดำเนินการหรือหากไม่มีพินัยกรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความเห็นร่วมกันระหว่างทายาทหรือผู้รับผลประโยชน์ โดยจะตกลงแต่งตั้งกันเองหรือเลือกบุคคลภายนอกเป็นผู้ดำเนินการก็ได้

3. พิจารณาแต่งตั้งทนายมืออาชีพ

ในบางกรณี อาจเป็นการดีกว่าที่จะแต่งตั้งผู้ดำเนินการมืออาชีพ เช่น ทนายความ นักบัญชี หรือบริษัททรัสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากอสังหาริมทรัพย์มีขนาดใหญ่หรือซับซ้อน ผู้บริหารมืออาชีพมีประสบการณ์ในการจัดการเรื่องอสังหาริมทรัพย์ รวมถึงภาระผูกพันทางกฎหมายและทางการเงิน

4. ส่งเอกสารสำหรับการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกให้ศาล

เมื่อมีการตัดสินเลือกผู้จัดการมรดกแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการยื่นขอนัดหมายอย่างเป็นทางการกับศาล กระบวนการทางกฎหมายนี้รวมถึงการยื่นพินัยกรรม (ถ้ามี) และเอกสารที่จำเป็นต่อศาล ซึ่งจะแต่งตั้งผู้ดำเนินการอย่างเป็นทางการ

5. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้จัดการมรดกเข้าใจในบทบาทและหน้าที่

ผู้ดำเนินการที่ได้รับการแต่งตั้งในการจัดการมรดกจะต้องยอมรับบทบาทอย่างเป็นทางการโดยทำความเข้าใจกับความรับผิดชอบและหน้าที่ของตน ซึ่งรวมถึงการจัดการและการกระจายทรัพย์สินของอสังหาริมทรัพย์ การชำระหนี้และภาษี และการสรุปประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์

เอกสารประกอบการยื่นคำร้องผู้จัดการมรดก

  1. เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร้องกับเจ้ามรดก เช่น สูติบัตร ทะเบียนสมรส ทะเบียนบ้าน         
  2. ใบมรณบัตรของเจ้ามรดก          
  3. เอกสาร หรือทะเบียนเกี่ยวกับทรัพย์มรดก เช่น โฉนดที่ดิน  บัญชีธนาคาร ทะเบียนรถยนต์ เป็นต้น
  4. บัญชีเครือญาติของเจ้ามรดก                 
  5. หนังสือยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดกจากทายาท               
  6. พินัยกรรม (ถ้ามี)          
  7. หนังสือสำคัญแสดงการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)

ค่าใช้จ่ายในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

  1. ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าประกาศมรดก แปลงละ 10 บาท
  3. ค่าจดทะเบียนแต่งตั้งผู้จัดการมรดก ค่าใช้จ่าย แปลงละ 50 บาท
  4. ค่าจดทะเบียนในการโอนมรดกคิดเป็นร้อยละ 2 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์
  5. ในกรณีโอนมรดกระหว่างบุพการีกับผู้สืบสันดาน หรือระหว่างคู่สมรส เรียกตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ร้อยละ 0.5

ระยะเวลาแต่งตั้งผู้จัดการมรดกกี่วัน

ต้องเริ่มนับตั้งแต่การลำดับทายาท จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง พยานบุคคล และทนายจะเริ่มต้นทำคำร้องและยื่นต่อศาล ภายในไม่เกิน 1 สัปดาห์ และอาจจะมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 45 วัน

หมายเหตุ : ผู้จัดการมรดกจำเป็นจะต้องจัดทำบัญชีมรดกภายใน 15 วัน เริ่มนับตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก (มาตรา 1731)

สรุป - การแต่งตั้งผู้จัดการมรดก

การแต่งตั้งผู้จัดการมรดกนั้นมีความสำคัญมากและมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้มรดกที่ได้มาเกิดประโยชน์แก่ทายาทหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับมรดกทุกคนอย่างเท่าเทียม และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกก็มิได้หมายความว่ามรดกนั้นจะตกอยู่กับผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว เพราะฉะนั้นหากมีมรดกต้องจัดการก็อย่ากลัวที่จะแต่งตั้งผู้จัดการมรดก เพื่อความสมบูรณ์เรียบร้อยในการครอบครองกรรมสิทธิ์ที่ควรเป็นของเรา

เพื่อนแท้ เงินด่วน

บทความยอดนิยม