หากคุณจะซื้อขายที่ดินแต่ละครั้งคุณจะต้องเขียนแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายที่ดินด้วยทุกครั้ง เพราะเป็นเอกสารสำคัญในการดำเนินเรื่อง นอกจากนั้นเอกสารที่ได้ทำขึ้นมาแล้วก็สามารถใช้เป็นหลักฐานสำคัญในการทำธุรกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับที่ดินได้ด้วย
สัญญาซื้อขายที่ดิน คือ
สัญญาซื้อขายที่ดิน คือ เอกสารสัญญาประเภทหนึ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการซื้อขาย เช่น เอกสารการซื้อบ้าน ที่ดิน คอนโด อพาร์ทเม้น เป็นต้น
ตัวอย่างสัญญาซื้อขายที่ดิน
ตัวอย่างสัญญาซื้อขายที่ดินจะเป็นเอกสารที่ใช้สำหรับการซื้อขาย ซึ่งมีตัวอย่างดังนี้
พิเศษ.. เฉพาะ ผู้ที่ทำการขอสินเชื่อผ่าน แอพฯ จะได้ดอกพิเศษกว่าไปหน้าสาขา
จุดประสงค์สัญญาซื้อขายที่ดิน
การเขียนแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายที่ดินเงินสด เพื่อเป็นการแสดงเจตนาของผู้ซื้อว่าต้องการจะซื้อที่ดินและได้วางเงินมัดจำเพื่อเป็นหลักประกันในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกัน โดยจะมีการโอนกรรมสิทธิ์ให้ในภายหลัง และในขณะเดียวกันก็สามารถแสดงเจตนาของผู้ขายว่าจะขายให้กับผู้ที่ได้ทำเอกสารซื้อขายแล้วเท่านั้น
ผลของสัญญาซื้อขายที่ดิน
ผลของการทำสัญญาซื้อขายที่ดินจะช่วยให้ทั้งสองฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่มีฝ่ายใดเสียเปรียบ หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ทำตามสัญญาอีกฝ่ายก็สามารถเรียกร้องหรือฟ้องร้องได้
การผิดสัญญาซื้อขายที่ดิน
หากทำสัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกันแล้วผู้ซื้อกลับเปลี่ยนใจไม่ซื้อจะถือว่าผู้ซื้อนั้นผิดสัญญา เงินที่ได้มัดจำไว้แล้วก็จะตกเป็นของผู้ขายทันที แต่ถ้าผู้ขายเป็นฝ่ายขายที่ดินให้กับผู้อื่นซึ่งไม่ได้ทำสัญญา ผู้ซื้อสามารถเรียกเงินมัดจำคืนและสามารถฟ้องร้องให้ผู้ขายขายที่ดินให้กับตนได้
เงินวางมัดจำซื้อขายที่ดิน
การซื้อขายที่ดินส่วนใหญ่มักจะวางมัดจำในอัตรา 5-10% ของราคาขาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะขึ้นอยู่กับการตกลงในแบบฟอร์มสัญญาซื้อขายที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ซื้อและผู้ขายเป็นหลักด้วย
ระยะเวลาสัญญา
ระยะเวลาในการทำสัญญาซื้อขายที่ดินและชำระเงินในส่วนที่เหลือทั้งหมด มักจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน นับจากวันที่ทำสัญญา เพื่อให้้ผู้ซื้อมีเวลาติดต่อกับสถาบันการเงินเพื่อขอสินเชื่อนั่นเอง
10 จุดที่ต้องระวังในสัญญาซื้อขายที่ดิน
จุดที่ควรระวังในการเขียนสัญญาซื้อขายที่ดินแบ่งขาย มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. วันที่ทำสัญญา
ในสัญญาซื้อขายที่ดินเงินสด pdf ต้องมีการระบุวันเวลาในส่วนหัวของสัญญาซื้อขายที่ดิน เพื่อให้ทราบวันเวลาและสถานที่ในการทำสัญญา แต่ถ้าไม่มีกำหนดเวลาก็จะถือว่าสัญญานั้นมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ปรากฏอยู่ในส่วนนี้
2. คู่สัญญาที่ทำนิติกรรมซื้อขาย
หากคุณซื้อขายกันโดยตรง จะต้องระบุข้อมูลที่แสดงตัวตนของคู่สัญญาของผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ว่าจะเป็น ชื่อ ที่อยู่ อายุ และใช้สำเนาบัตรประชาชนแนบท้ายสัญญาซื้อขายที่ดินด้วย
3. อสังหาริมทรัพย์ที่จะซื้อขาย
หากต้องการจะซื้อขายที่ดินจะต้องมีรายละเอียดของที่ดินอยู่ในสัญญาด้วย เช่น ขนาดของที่ดิน เลขที่โฉนดที่ดิน ที่ตั้งของที่ดินแปลงนั้นๆ เป็นต้น
4. ราคาขายและรายละเอียดการชำระเงิน
ราคาขายที่ดินส่วนมากนั้นจะขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้งสองฝ่าย โดยจะต้องมีการระบุจำนวนเงินที่ชัดเจนในสัญญาซื้อขายที่ดินทั้งตัวเลขและตัวอักษร และจะต้องชี้แจงให้ชัดเจนด้วยว่ามัดจำเท่าไหร่ ชำระเป็นเงินสดหรือชำระด้วยเช็ค
ควรมีการระบุธนาคาร สาขา เลขที่เช็คด้วย พร้อมทั้งระบุวันที่่และจำนวนเงินที่สั่งจ่ายให้ครบถ้วน ในกรณีที่วางเงินดาวน์ก็ระบุจำนวนเงินให้ชัดเจน พร้อมทั้งบอกรายละเอียดว่าผ่อนชำระกี่งวด งวดละกี่บาท
5. วิธีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์
การจะซื้อขายที่ดินจะต้องมีการระบุวันที่ให้แน่นอน เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายรับรู้ตรงกันว่าจะมีการซื้อขายวันไหน นอกจากนี้แล้วก็จะต้องระบุสถานที่การทำสัญญาว่าต้องการซื้อขายที่สำนักที่ดินแห่งไหน โดยจะต้องเสียค่าธรรมเนียม ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ ค่าอากร ค่าภาษีหัก ณ ที่จ่าย ค่านายหน้า เป็นต้น
โดยในสัญญาซื้อขายที่ดิน ราชการจะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่า ผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องรับผิดชอบส่วนใดบ้างเป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ ซึ่งจะต้องระบุให้ชัดเจนตั้งแต่แรกจะได้ไม่มีปัญหาในภายหลัง