เมื่อพูดถึง “หนี้สิน” แน่นอนว่าไม่มีใครอยากโดนทวงหนี้ แต่เมื่อต้องเป็นหนี้แล้ว บ้างครั้งเจ้าหนี้บางรายมีการกระทำกับลูกหนี้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ วันนี้เพื่อนแท้เงินด่วนจะมาแนะนำวิธีรับมือ เมื่อคุณโดนทวงหนี้แบบไม่ถูกกฎหมาย อย่างไรก็ตามเมื่อเป็นหนี้แล้ว ลูกหนี้ก็ควรชำระหนี้ให้ตรงเวลา
แต่หากถึงเวลาที่ลูกหนี้อาจติดธุระหรือไม่สะดวกชำระหนี้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เจ้าหนี้มีสิทธิ์ในการทวงถามหนี้ด้วยตัวเอง หรืออาจใช้วิธีว่าจ้างตัวแทนเป็นผู้ทวงถามหนี้ โดยหากพูดถึงการทวงถามหนี้ หลายคนอาจจินตนาการไปถึงขั้นตอนการทวงหนี้โหด ที่พบเห็นได้ในข่าวและละคร จนทำให้เกิดความกังวล ว่าจะถูกทำร้ายร่างกาย หรือถูกทำให้อับอาย
พรบ.ทวงหนี้
แต่ในทางปฏิบัติแล้วประเทศไทยได้มี พระราชบัญญติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 ซึ่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ให้ความสำคัญกับสิทธิส่วนบุคคลของลูกหนี้มากขึ้น ดังนั้น ลูกหนี้จึงไม่ต้องเกรงกลัวการทวงหนี้โหด แบบที่เคยเห็นในอดีต และต่อไปนร้คือ 7 เรื่องควรรู้สำหรับลูกหนี้ หากกำลังโดนทวงถามหนี้โหด โดยสามารถสรุปใจความสำคัญในพระราชบัญญัติที่ลูกหนี้ควรทราบ ดังนี้
1. สิทธิการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง
เมื่อลูกหนี้ได้รับความเดือนร้อนเรื่องเงินและทำเรื่องกู้เงินด่วนไปยังสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อต่าง ๆ แล้ว ลูกหนี้มีสิทธิในการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน ไม่บิดเบือน ไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียม ค่าบริการ อัตราดอกเบี้ย ค่าปรับจากการทวงหนี้แบบสุภาพที่อาจเกิดขึ้นกรณีผิดชำระหนี้
รวมถึงสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อต้องอำนวยความสะดวกโดยการให้ข้อมูลสำคัญตามช่องทางต่าง ๆ ที่เข้าถึงลูกหนี้ได้ง่าย อาทิ เว็บไซต์ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ แอพเงินด่วน และสาขา เป็นต้น โดยหากสถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อให้ข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน สามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทวงหนี้ได้ เพื่อขอความเป็นธรรม
2. สิทธิในการได้รับสัญญาและใบเสร็จรับเงิน
หลังการอนุมัติเงินด่วนจากสถาบันการเงิน หรือบริษัทสินเชี่อถูกกฎหมายที่น่าเชื่อถือแล้ว ลูกหนี้จะได้รับสัญญาการกู้ยืมเงิน ซึ่งในสัญญาจะระบุรายละเอียดชัดเจน เช่น ขั้นตอนการทวงหนี้ ครบถ้วน อันเป็นเงื่อนไขสำคัญของการขอสินเชื่อ โดยสัญญาจะมีทั้งสิ้น 2 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับจะมีเนื้อหาตรงกัน ถูกแจกให้กับเจ้าหนี้และลูกหนี้คนละฉบับ
ซึ่งก่อนเซ็นสัญญาควรตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ วันที่ขอกู้ จำนวนเงินที่กู้ อัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งข้อมูลที่ว่านี้เป็นข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ควรอ่านอย่างละเอียดถี่ถ้วนเพื่อเลี่ยงการเกิดปัญหาการทวงหนี้ในภายหลัง
สำหรับใบเสร็จรับเงินก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน หากลูกหนี้ได้ชำระค่างวดแล้วต้องได้รับใบเสร็จทุกครั้งที่มีการชำระเงิน อย่าลืมตรวจสอบตัวเลขการชำระเงินให้ถูกต้องตามยอดเงินที่จ่าย และควรเก็บไว้เป็นหลักฐานย้อนหลัง เพื่อใช้เป็นหลักฐานกรณีหากถูกทวงหนี้
3. สิทธิในการถูก ทวงถามหนี้ อย่างปลอดภัย
ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีการชำระเงินล่าช้า หรือมีเหตุผลให้จ่ายค่างวดไม่ตามวันที่ที่กำหนด เป็นผลทำให้เจ้าหนี้เกิดการทวงหนี้ ซึ่งขั้นตอนนี้ลูกหนี้ได้สิทธิในการคุ้มครองเพื่อให้เกิดการทวงถามอย่างปลอดภัย ซึ่งนับว่าเอื้อประโยชน์แก่ลูกหนี้เป็นอย่างยิ่ง
โดยการคุ้มครองนี้หมายความถึง ความคุ้มครองในการถูกทวงถามโดยห้ามไม่ให้มีการทำร้ายร่างกาย ประจาน ข่มขู่ ทำลายข้าวของ การใช้ถ้อยคำที่หยาบคาย หรือใช้ถ้อยคำที่ดูหมิ่น เป็นต้น ซึ่งความคุ้มครองนี้ทำให้ลูกหนี้เบาใจได้บ้าง เนื่องจากจะช่วยตัดปัญหาความกังวลเรื่องการทวงหนี้โหดไปได้
4. สิทธิในการถูก ทวงถามหนี้ ตามเวลา
เพราะทุกคนต้องการมีเวลาส่วนตัวและเวลาพักผ่อน สำหรับลูกหนี้เองก็เช่นกัน ดังนั้นจึงมีการกำหนดเวลาสำหรับการทวงหนี้เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนลูกหนี้จนเกินไป โดยสิทธิของลูกหนี้คือการได้รับความคุ้มครองในการถูกทวงถามนี้ตามเวลาที่กำหนด นั่นคือ วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8.00-20.00 น. และวันหยุดตั้งแต่เวลา 8.00-18.00 น.
โดยจะต้องโทรทวงหนี้ในจำนวนครั้งที่เหมาะสม ไม่มากครั้งหรือถี่เกินไป ซึ่งหากไม่สามารถติดต่อตามเวลาดังกล่าวได้ ควรเลื่อนเป็นเวลาตามเหมาะสมและไม่เป็นการรบกวนลูกหนี้
5. ห้ามติดต่อลูกหนี้โดยวิธีที่สื่อให้ผู้อื่นทราบว่าถูกทวงถาม
หลังจากผ่านขั้นตอนการขอกู้เงินด่วน เจ้าหนี้สามารถติดต่อทวงถามหนี้นอกเหนือจากการทวงถามทางโทรศัพท์ โดยการใช้การทวงถามผ่านจดหมายได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็มีกฎห้ามติดต่อลูกหนี้โดยวิธีที่ทำให้บุคคลอื่นทราบว่าเป็นการทวงหนี้ ไม่ว่าจะเป็น การใช้ไปรษณียบัตร โทรสาร เอกสารเปิดผนึก หรือสิ่งอื่นที่แสดงถึงการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน
โดยหมายรวมถึงการใช้ข้อความ สัญลักษณ์ หรือเครื่องหมายใด ๆ บนซองจดหมายหรือสื่ออื่นใด ที่ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจว่าเป็นจดหมายติดต่อเพื่อการทวงหนี้ เนื่องจากการกระทำเช่นนี้คล้ายเป็นการทำให้บุคคลอื่นที่อาจบังเอิญพบเห็นจดหมายทราบว่าบุคคลนั้นเป็นหนี้ได้
6. ห้าม ทวงถามหนี้ ให้เกิดความเข้าใจผิด
เพื่อป้องกันการทวงหนี้โหดของเจ้าหนี้ จึงเกิดการคุ้มครองลูกหนี้โดยการห้ามทวงถามหนี้ที่เป็นเท็จและทำให้เกิดความเข้าใจผิด หรือตื่นตระหนกตกใจ เช่น การใช้สัญลักษณ์ที่ทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นจดหมายจากศาล หน่วยงานรัฐ สำนักงานกฎหมาย บริษัทข้อมูลเครดิต
รวมถึงการใช้ข้อความที่อาจทำให้ลูกหนี้เข้าใจว่าจะถูกดำเนินคดีหรืออายัดทรัพย์ เป็นต้น โดยสัญลักษณ์หรือข้อความทวงหนี้เหล่านี้อาจทำให้ลูกหนี้เกิดความเข้าใจผิด ซึ่งหากพบเห็นการกระทำที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดดังกล่าวสามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ เนื่องจากมีพระราบัญญัติคุ้มครองทวงถามหนี้กรณีนี้อย่างจริงจัง
7. ห้าม ทวงถามหนี้ กับบุคลลอื่น
อีกข้อที่หลายคนอาจสงสัยว่าหากดำเนินการขอกู้สินเชื่อเงินด่วนต่าง ๆ และยังไม่มีการชำระค่างวดแล้ว สถาบันการเงินหรือบริษัทสินเชื่อนั้น ๆ จะสามารถทวงหนี้จากบุคคลอื่นได้หรือไม่ คำตอบคือไม่สามารถทำได้ เนื่องจากมีการคุ้มครองห้ามทวงถามหนี้จากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกหนี้ ยกเว้นแต่เป็นบุคคลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้
โดยหากติดต่อกับบุคคลอื่นสามารถทำได้กรณีสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้เท่านั้น โดยผู้ทวงถามจะต้องแจ้งชื่อ นามสกุล และเจตนาที่ต้องการสอบถามข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ระบุ
และห้ามแจ้งรายละเอียดความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ว่าบุคคลนั้นเป็นสามี ภรรยา บุพการี และผู้สืบสันดานของลูกหนี้ โดยผู้ทวงหนี้ถามสามารถชี้แจงข้อมูลหนี้เฉพาะเท่าที่จำเป็นและเหมาะสมเท่านั้น
นอกจากนี้ กรณีที่ลูกหนี้ได้รับการทวงถามหนี้โดยไม่เป็นธรรม หรือถูกทวงถามหนี้ที่ไม่สุภาพ สามารถร้องเรียนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ แนะนำให้ลูกหนี้ทุกคนไม่ควรเพิกเฉยกับเหตุการณ์ทวงหนี้โหดหรือการทวงถามหนี้ที่ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ศูนย์ร้องเรียนการทวงหนี้ได้ที่ไหน
- กรมการปกครอง โทร. 02-356-9660
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 1359
- กองบัญชาการตำรวจนครบาล โทร. 02-282-8209
- สถานีตำรวจ ที่ว่าการอำเภอ ในพื้นที่ที่ลูกหนี้สะดวก
- ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน โทร. 1213
สรุป - โดนทวงหนี้โหดทำอย่างไร
จากการสรุปใจความสำคัญ ของรายละเอียดพระราชบัญญัติ การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 จะเห็นได้ว่าลูกหนี้ก็มีสิทธิในการได้รับความคุ้มครองในการทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรมและปลอดภัย ดังนั้น จึงมั่นใจได้ว่าจะไม่มีการทวงหนี้โหด โดยการรุมทำร้ายร่างกาย หรือไล่ยิงแบบที่เห็นในละคร แต่หากพบเจอเหตุการณ์ทวงหนี้ แบบดังกล่าว ปัจจุบันก็มีหลายหน่วยงาน ที่พร้อมยื่นมือช่วยเหลือ คุ้มครองดูแลลูกหนี้ เพียงแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าลูกหนี้จะได้รับการคุ้มครอง จากพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 แต่เมื่อหนี้สินเกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องชดใช้ ชำระหนี้ตามกำหนดชำระ
หรือหากไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ได้ทัน ควรหาทางออกโดยการปรึกษาเจ้าหนี้ โดยเจ้าหนี้อาจแนะนำให้รีไฟแนนซ์ เพื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียว ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยแบ่งเบาภาระลูกหนี้ได้ หรืออาจแนะนำให้ปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งทางออกเหล่านี้ นับว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาทวงหนี้ในระยะยาวอีกด้วย
และที่สำคัญที่สุดคือการไม่สร้างหนี้สินเพิ่ม เพื่อสภาพคล่องทางการเงิน ที่ดีของคุณในอนาคต และถ้าหากคุณเครียดลองปรึกษาเราดูสิ เรา รับปรึกษาปัญหาหนี้สิน เพิ่มแนวทางแก้ไขหนี้ส่วนตัวอย่างได้ผล