สรุปเรื่อง ภาษีที่ดิน แบบง่ายๆครบในที่เดียว

อันดับแรกคุณต้องเข้าใจก่อนว่า ภาษีที่ดิน ล่าสุด คือ พระราชบัญญัติภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ปี 2562 ที่ถูกนำมาแทนที่ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีโรงเรือน และที่ดิน ซึ่งหากใครที่เคยเสียภาษีนี้ไปแล้วไม่จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีใหม่อีกครั้ง

แต่กลับกันจะต้องไปเสีย ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง 2565 โดยภาษีตัวใหม่นี้จะถูกจัดเก็บตามมูลค่าของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่ในครอบครอง โดยจะทำการแบ่งทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีโฉนดที่ดินออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

วัตถุประสงค์การเก็บ ภาษีที่ดิน

วัตถุประสงค์ของการแบ่งภาษีที่ดิน คือ เป็นการออกข้อตกลงใหม่เกี่ยวกับภาษี เพื่อความต้องการในการแก้ไขปัญหาที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น เช่น การแก้ปัญหาเรื่องภาษีบำรุงท้องที่ และภาษีโรงเรือน และที่ดิน , รวมถึงการลดความเหลื่อมล้ำเรื่องความรวย ความจน , จัดการปัญหาที่ดินรกร้างให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด , ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

และยังถือเป็นการส่งเสริมความมีส่วนร่วมแก่ประชาชนให้สามารถตรวจสอบการทำงานของรัฐได้อีกด้วยว่า มีการเก็บภาษีอย่างเป็นธรรมในท้องถิ่น

ประเภทของ ภาษีที่ดิน

ประเภทของภาษีที่ดิน เพื่อนแท้ เงินด่วนสามารถแบ่งได้หลักๆ เป็น 4 ประเภท คือ

ภาษีที่ดิน

1. ภาษีที่อยู่อาศัย

อันดับแรกจะเป็นภาษีที่ดินของที่อยู่อาศัยก่อน โดยจะแบ่งเป็น 3 ประเภทย่อยด้วยกัน คือ

1.1 ภาษีที่อยู่อาศัยหลังแรก ในกรณีเป็นเจ้าของบ้าน และที่ดิน

  • บ้านและที่ดินมูลค่าต่ำกว่า 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
  • บ้านและที่ดินมูลค่า 50 – 75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03%
  • บ้านและที่ดินมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%
  • บ้านและที่ดินมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.10%

ยกตัวอย่างเช่น บ้านและที่ดินมูลค่ารวม 60 ล้านบาท รัฐยกเว้นให้ 50 ล้าน ก็จะได้เป็น : (60 ล้านบาท – 50 ล้านบาท) x 0.03% = 3,000 บาท เป็นค่าอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ที่เราต้องจ่ายใน 2 ปีแรกนั่นเอง

มีบ้าน 1 หลัง พร้อมที่ดินโดยรวมทั้งบ้าน และที่ดินมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษี ถ้าหากบ้านและที่ดินมีมูลค่าเกินกว่า 50 ล้านบาท ช่วง 2 ปีแรกระหว่าง 2563-2565 จะต้องมีการเสียภาษีโฉนดที่ดินแบบขั้นบันได คิดตามมูลค่าของบ้านและที่ดิน ตั้งแต่ 0.03 – 0.10% และหลังจากปี 2565 จะเสียภาษีในอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2565 ไม่เกิน 0.3% เท่านั้น

1.2 ภาษีที่อยู่อาศัยหลังแรก ในกรณีเป็นเจ้าของบ้าน แต่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน

  • บ้านมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้านบาท ไม่ต้องเสียภาษีที่ดิน
  • บ้านมูลค่า 10 – 50 ล้านบาท คิดภาษี 0.02%
  • บ้านมูลค่า 50 – 75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03%
  • บ้านมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%
  • บ้านมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.10%

ส่วนวิธีการคำนวณค่าภาษีที่ดิน เหมือนกับที่อยู่อาศัยหลังแรก กรณีเป็นเจ้าของทั้งบ้านและที่ดิน เพียงแต่รัฐยกเว้นให้ 10 ล้านบาท ที่ต้องลบออกจากมูลค่าบ้าน หากไม่เกินก็จะได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินนั่นเอง

ในข้อนี้กฎหมายก็ยกเว้นเรื่องภาษีให้เช่นกัน เฉพาะคนที่มูลค่าบ้านไม่เกิน 10 ล้านบาท ถ้าหากใครเป็นเจ้าของบ้านมูลค่าเกิน 10 ล้านบาท สำหรับช่วง 2 ปีแรก ระหว่าง 2563 – 2565 จะต้องเสียภาษีที่ดินแบบขั้นบันได ตามราคาสิ่งปลูกสร้าง ตั้งแต่ 0.02 – 0.10% ถัดจากปี 2565 จะจ่ายเพียงปีละ 0.3% เท่านั้น

1.3 ภาษีที่อยู่อาศัยหลังที่ 2 ขึ้นไป

  • บ้านมูลค่า 0 – 50 ล้านบาท คิดภาษี 0.02%
  • บ้านมูลค่า 50 – 75 ล้านบาท คิดภาษี 0.03%
  • บ้านมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%
  • บ้านมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.10%

ยกตัวอย่างการคำนวณ เช่น มูลค่าบ้านอยู่ที่ 5 ล้านบาท x 0.02% = 1,000 บาท เป็นมูลค่าภาษีที่ดินที่ต้องจ่ายช่วง 2 ปีแรก

ในกรณีนี้แตกต่างจากทั้ง 2 ข้อแรก เนื่องจากรัฐจะไม่ยกเว้นภาษีในช่วง 2 ปีแรกแต่อย่างใด จึงต้องจ่ายภาษีที่ดินตามขั้นบันไดตั้งแต่ 0.02 – 0.10% จากนั้นหลังปี 2565 จะเสียภาษีโฉนดที่ดินในอัตราไม่เกิน 0.3%

2. ภาษีที่ดินเกษตรกรรม

สำหรับกรณีภาษีที่ดินเกษตรกรรมจะแยกออกเป็นอีก 2 ประเภทเช่นกัน ในการคิดภาษีโฉนดที่ดินและโรงเรือน

2.1 ภาษีที่ดินเกษตรกรรม (กรณีเกษตรกร)

  • ถ้าหากที่ดินมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาทจะไม่ต้องเสียภาษี
  • สำหรับเกษตรกรที่มีที่ดินมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท ในช่วง 2 ปีแรก ระหว่าง 2563 – 2565 ยังไม่ต้องเสียภาษี จากการที่กฎหมายยกเว้นให้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
  • เตรียมตัวเริ่มต้นจ่ายภาษีที่ดินและโรงเรือนตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป ในอัตราค่าภาษีไม่เกิน 0.15%
  • ยกตัวอย่างการคำนวณภาษีที่ดินเกษตรกรรม 2565 คือ = (มูลค่าที่ดิน – มูลค่าที่กฎหมายยกเว้น 50 ล้านบาท) x อัตราภาษี

2.2 ภาษีที่ดินเกษตรกรรม (กรณีนิติบุคคล)

  • หากเป็นกรณีนี้ จะไม่ได้รับการยกเว้นเหมือนกับบุคคลธรรมดา ในเรื่องของภาษีที่ดินและโรงเรือน ดังนั้นช่วง 2 ปีแรก ระหว่าง 2563 – 2565 ต้องมีการเสียภาษีโฉนดที่ดินตามขั้นบันได ตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราตั้งแต่ 0.01 – 0.10%
  • ที่ดินและโรงเรือนมูลค่า 50 – 75 ล้านบาท คิดภาษี 0.01%
  • ที่ดินและโรงเรือนมูลค่า 75 – 100 ล้านบาท คิดภาษี 0.03%
  • ที่ดินและโรงเรือนมูลค่า 100 – 500 ล้านบาท คิดภาษี 0.05%
  • ที่ดินและโรงเรือนมูลค่า 500 – 1,000 ล้านบาท คิดภาษี 0.07%
  • ที่ดินและโรงเรือนมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท คิดภาษี 0.10%
  • จากนั้นตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป ตรวจสอบภาษีที่ดิน ออนไลน์ ไม่ว่าที่ดินและโรงเรือนจะมีมูลค่ารวมกันเป็นเท่าไหร่ ก็จะต้องเสียภาษีโฉนดที่ดินและโรงเรือน ในอัตราภาษีปีละไม่เกิน 0.15% ต่อปี

3. อื่น ๆ ที่ไม่ใช่เกษตรกรรมและอยู่อาศัย

ถัดมาเป็นที่ดินเปล่า ไม่ได้เป็นทั้งที่อยู่อาศัยหรือทำเกษตรกรรม ในช่วง 2 ปีแรก ระหว่าง 2563 – 2565 ต้องมีการเสียภาษีแบบขั้นบันได ตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เริ่มตั้งแต่ 0.3 – 0.7% ถัดไปจากปี 2565 ก็จะเสียภาษีที่ดินในอัตราปีละไม่เกิน 1.2%

4. ภาษีที่รกร้างว่างเปล่า

  • มูลค่าที่ดิน 0 – 50 ล้านบาท คิดภาษี 0.3%
  • มูลค่าที่ดิน 50 – 200 ล้านบาท คิดภาษี 0.4%
  • มูลค่าที่ดิน 200 – 1,000 ล้านบาท คิดภาษี 0.5%
  • มูลค่าที่ดิน 1,000 – 5,000 ล้านบาท คิดภาษี 0.6%
  • มูลค่าที่ดินมากกว่า 5,000 ล้านบาท คิดภาษี 0.7%
  • หลังจากนั้นไม่ว่ามูลค่าที่ดินจะเท่าไหร่ก็ตามแต่ ต้องเสียภาษีที่ดินในอัตราไม่เกินปีละ 1.2% ต่อปี และหากที่ดินนี้เป็นที่ดินทิ้งร้างติดต่อกันกว่า 3 ปี จะมีการปรับอัตราภาษีเพิ่มขึ้นอีก 0.3% และจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกช่วง 3 ปี ซึ่งโดยรวมทั้งหมดจะไม่เกิน 3%

สรุป - ภาษีที่ดิน

สำหรับคนที่มีที่ดินและบ้าน จะมีการเรียกเก็บภาษีที่ดิน กี่เปอร์เซ็นต์ ค่าภาษีก็จะแตกต่างกันออกไปตามมูลค่าของที่ดินและบ้าน เช่น ถ้าเป็นเจ้าของบ้านไม่ใช่เจ้าของที่ดินและบ้านมีมูลค่าต่ำกว่า 10 ล้าน ไม่ต้องเสียภาษี

นิติบุคคลต้องมีการเสียภาษีโฉนดที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราตั้งแต่ 0.01-0.10% ที่ดินเปล่ามีการเสียภาษีเริ่มตั้งแต่ 0.3-0.7% ที่ดินรกร้างว่างเปล่ามีมูลค่าตั้งแต่ 0–50 ล้านบาทคิดภาษี 0.3% หรือสำหรับใครที่มีที่ดินไม่มากนักก็จะได้รับการละเว้นการเสียภาษีที่ดิน

เพื่อนแท้ เงินด่วน

บทความยอดนิยม